วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การแสดงฐานข้อมูลในรูปแบบสารสนเทศ



FROM DATA TO INFORMATION


ข้อมูลทั่วไปของพนักงาน



สรุปผลของข้อมูลที่ต้องการ




 การนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปแบบสารสนเทศ






ขอบคุณทุกท่านที่เยี่ยมชมครับ





























สารสนเทศในกิจการของเรา


การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาใช้ในกิจการ Condominium 
  








HARDWARE







SOFTWARE






 PEOPLEWARE








ขอบคุณทุกท่านที่เยี่ยมชมครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์


HAERWARE
         คือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้  ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ 3 ส่วนที่สำคัญ คือ
          1.อุปกรณ์รับข้อมูล
        เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง  ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่ เม้า คีย์บอร์ด  จอยสติกส์ เครื่องอ่านบาร์โค๊ด สแกนเนอร์ เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก ปากกาแสง กล่องถ่ายภาพดิจิตอล ไม่โครโฟน จอสัมผัส เป็นต้น
           2. อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล
           เป็นการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล โดยส่วนประกอบของอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล โดยมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน
1.ส่วนควบคุม (Control Unit) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของ          อุปกรณ์   ทุกอย่างให้เป็นไปตามคำสั่ง โดย ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลอ่านข้อมูลเข้า และ ทำการคำนวณ โดยคำสั่งนั้นจะได้รับจากหน่วยความจำและหน่วยควบคุมจะแปลความหมายแล้วส่งคำสั่งนั้นไปให้หน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmetic and Logic Unit) คือการ คำนวณ   บวก ลบ คูณ การเ   ปรียบเทียบข้อมูล เช่น เท่ากับ ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่าโดย Register เป็นส่วนย่อยสำหรับเก็บคำสั่งในการคำนวณชั่วคราว

         3. อุปกรณ์แสดงผลคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก  ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์  ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ จอภาพ (Monitor)  เครื่องพิมพ์ (Printer) และ ลำโพง (Speaker)
 

SOFTWARE
ซอฟท์แวร์  เป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง  เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้  ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง เช่น
          ซอฟต์แวร์ระบบ- ระบบปฏิบัติการหรือควบคุมเครื่อง
          ยูติลิตี้ - โปรแกรมเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง
          ดีไวท์ไดร์ฟเวอร์ - โปรแกรมไดร์ฟเวอร์ของอุปกรณ์ต่อพ่วง
          ตัวแปลภาษา-โปรแกรมแปลภาษาเครื่องให้เป็นภาษาระดับสูง
          ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงาน  เฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
 

 PEOPLEWARE
หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
          1.ผู้จัดการระบบ (System Manager)  คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไป

          2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)  คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

          3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)  คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

          4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

 

DATA
          คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การ ดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วโดยแบ่งได้ดังนี้

1.การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล - มอง, ฟัง , สัมผัส
2.การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ 
                - ปฐมภูมิ àการสังเกต,การสัมภาษณ์,การจดบันทึก,การสำรวจ
                - ทุติยภูมิ àผลจากการนำข้อมูลปฐมภูมิมาประมวลผล
3.การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 
                - ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
                - ข้อมูลภาพ (Image Data)
                - ข้อมูลเสียง (Sound Data)
                - ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)

INFORMATION
          สารสนเทศ (Information) คือสิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนำเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย เช่นกราฟแสดงผลข้อมูลต่างๆ



ขอบคุณทุกท่านที่เยี่ยมชมครับ


วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Microsoft Acces 2013 Runtime


สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติ ขอแนะนำ SOFTWARE ครับ
                  

                           Microsoft Access 2013 Runti 




  •  ความต้องการระบบ

  •  วิธีการติดตั้ง

  •  อ้างอิงจาก

                                                 ขอบคุณทุกๆท่าน ที่เยี่ยมชมครับ

Microsoft Office 2013

สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติ ขอแนะนำ SOFTWARE ครับ

Microsoft Office 2013


  •  ความต้องการของระบบ


  •  วิธีติดตั้งโปรแกรม

  • อ้างอิงจาก 

ขอบคุณทุกท่านที่เยี่ยมชมค่ะ

ALL Player 5.6


สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติ ขอแนะนำ SOFTWARE ครับ


              ALL Player 5.6 โปรแกรมสำหรับการดูหนัง ครับท่าน

  •    ความสามารถของโปรแกรม ดังนี้ครับ

  •  การพัฒนาของโปรแกรม
  • คุณสมบัติของโปรแกรม 


  •  อ้างอิงจาก

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ




1.จงอธิบายความหมายของคำ ดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

ตอบ   (1.1) เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิคความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ       มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
           ตัวอย่าง  เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องส่งแฟกซ์ เครื่องถ่ายเอกสาร
(1.2) สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได่ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูลผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ยกตัวอย่างเช่น

 ตัวอย่าง เช่น ข้อมูลข่าวสาร การประชุม การปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติงาน
(1.3) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา การสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น
       ตัวอย่าง เช่น การส่งแผนการปฏิบัติงาน ทาง E-mail ให้สำนักงานสาขาอื่นๆของบริษัท รับทราบ

(1.4) ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการ สังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่สำคัญจะต้องมีจริงและต่อเนื่องตัวอย่างข้อมูล
        ตัวอย่าง เช่น ยอดขายในแต่ละสาขาของบริษัท รายชื่อลูกค้าในแต่ละสาขาของบริษัท

(1.5) ฐานความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้ ยกตัวอย่างเช่น
ตัวอย่าง เช่น รายละเอียด วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ กรณีที่ผลิตภัณท์มีปัญหาไม่ได้คุณภาพ




2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
โครงสร้างสารสนเทศประกอบด้วย
ตอบ
1.1      ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูลซึ่งเรียกว่า ระบบการประมวลผลรายการ เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์การ
ตัวอย่าง เช่น การคำนวนเวลาการทำงานของพนักงาน เป็นต้น

1.2      ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวันซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน
ตัวอย่าง เช่น การวางแผนควบคุมการผลิตสินค้าในแต่ละวัน ของโรงงานอุตสาหกรรม

1.3      ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ
ตัวอย่าง เช่น การวางแผนการผลิตในแต่ละปีเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

1.4      ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาวซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์
ตัวอย่าง เช่น การวางแผน กระตุ้นยอดขาย และการบริการลูกค้าเพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น



3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
 ตอบ  วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
1.1      ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆของการใช้คอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้นเพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ตัวอย่าง  เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลแทนสมุดบันทึก

1.2      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการติดตามผลและวิเคราะห์งานของผู้บริหาร

ตัวอย่าง เช่น การรายงาน รายรับ-รายจ่าย ของบริษัท

1.3      ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการเรียกใช้สารสนเทศเพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจ ในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ

ตัวอย่าง เช่น การนำข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มาประมวลผลเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้า

1.4      ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

ตัวอย่าง เช่น การจัดทำ Website ของบริษัทเพื่อให้ ลูกค้าสามารถได้รับข้อมูลข่าวสารต่างของบริษัท และสามารถสั่งซื้อสินค้าจาก websiteได้

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าชม